ReadyPlanet.com
dot
solutier project
dot
Member log in
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
ต้องการข้อมูลข่าวสารจาก website

dot
สมาชิกที่ log in ขณะนี้
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 1 คน
dot
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน




การตลาดสถานบริการ ตอนที่ 3

ในตอนที่แล้ว  ผมทิ้งท้ายด้วยคำว่า “ความเหมาะสม” เพื่อสร้าง Value ที่ดีให้กับกิจการ..

ชาว SME มาดูกันครับ

ถ้าจะเล่น Social Network เพื่อส่งผลด้านการตลาด  คุณเลือกอะไร  Hi-5   Facebook  หรือ Twiter

ถ้าจะขายคอมพิวเตอร์ และคุณมีงบในการทำร้านสวยๆ  เปิดที่ไหน   Platinum  พันธ์ทิพย์   หรือพารากอน

ถ้าจะทำตลาดลูกชิ้นหมู  คุณจะส่งเซลส์ไปจังหวัดไหนก่อน  นครปฐม   เชียงใหม่  หรือยะลา

คงได้คำตอบนะครับ

“ความเหมาะสม” กับ Value เป็นการตัดสินใจบนการหาข้อมูลที่สนับสนุน คุณค่า ได้มากที่สุด  เป็นการวางกลยุทธ์ที่คุ้มค่า  และได้ผลสูงสุดเท่าที่จะทำได้  ซึ่งแน่นอนว่า “ขึ้นอยู่กับมุมมอง” 

จึงสามารถกล่าวได้ว่า  นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ (ไม่รวมพวกฟลุ๊ค  หรือคาบช้อนทองมาเกิด)  เริ่มต้นด้วยคำว่า “ความเหมาะสม”  ทั้งสิ้น 

ทีนี้  เราจะสร้างความเหมาะสม  ให้กับ Value ของธุรกิจได้อย่างไร?


 

ขั้นตอนง่ายๆ  ที่จำเป็นต้องทำ  ก่อนจะต้ดสินใจใดๆ  คือ “คิดเป็นขั้นตอน”  ซึ่งเหล่านักวิชาการทั้งหลาย  ชอบสร้าง Step ให้ดูขลัง  ดังนี้ครับ

นโยบาย (Policy)--> แผน (Plan) -->  แผนงาน (Program) --> โครงการ (Project) -->  กิจกรรม (Activity)

แปลว่า?

ไม่ใช่ผมจะแอนตี้วิธีคิดด้านบน  วิธีคิดน่ะถูกต้อง แต่ผมถามสักนิดเถอะว่า  “มีกี่คนที่เข้าใจ..กระจ่าง?”  ทุกวันนี้ผมไป Consult ที่ไหน  พอหยิบเรื่องนี้มาคุย  เห็นเออ ออ ห่อหมก  พยักหน้ากันหงึกๆว่า  ใช่ๆ ..  ต้องคิดเป็น Step อย่างนี้  ถึงจะถูกต้อง  นี่สินักวิชาการของจริง  ต้องคิดเป็น STEP !

แต่พอเริ่มลงมือทำจริงๆจังๆ  ให้เขียนออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร  อ่านยังไงก็ “งง”

นโยบายน่ะ  ง่ายมากครับ  อยากได้อะไร  ต้องการให้เป็นอย่างไร ง่ายมาก

...แต่พอให้เขียน “แผน”  พี่แกเขียน “แผนงาน”  มาให้อ่าน

...พอให้เขียน “แผนงาน” ก็เอา “แผน” นั่นแหละ  มาแปลงคำพูด  (แล้วจะทำสองรอบทำไม?)

...เขียน “โครงการ”  อันนี้ค่อยยังชัวหน่อย  คงฝึกกันมาเยอะ  มีต้นแบบให้ดู  พอเข้าใจได้

...พอถึง “กิจกรรม”  ก็ไม่รู้จะเขียนอะไรแล้ว  เพราะเอากิจกรรม ไปใส่ไว้ในโครงการหมด  เพื่อให้โครงการมันดูครบถ้วน  และได้รับการอนุมัติจากเจ้าของกิจการ  วิธีแก้ปัญหา  ก็คือ.. เอาบางส่วนที่ระบุไว้ใน “โครงการ” ว่า “จะ” ทำอย่างนั้นอย่างนี้  มาขยายความ 

สรุป  นั่งประชุมกันเป็นเดือนๆ  เถียงกันหน้าดำหน้าแดง  แล้วได้กิจกรรม  ที่ไปลอกคนอื่น  เอามาแปลงเป็นของตัวเอง  ด้วยภาษาสวยๆ  ปึกนึง  และให้คำตอบตัวเองว่า ..”น่าจะได้ผลสำเร็จ  ดังนี้...”  เพื่อตอบสนองค่านิยมว่า...

“นักวิชาการ   นักบริหาร   นัการตลาด ..ต้องคิดแบบมี STEP!”

 

น้ำเน่ามากครับ  เพื่อนๆชาว SME

อย่าพยายามคิดอะไรให้วุ่นวายเลยครับ  ถ้าคุณไม่รู้จัก  ไม่เข้าใจวิธีคิดจริงๆ  เสียเวลาเปล่าๆ 

ผมเสนอวิธีคิดง่ายๆ  ให้คุณลองใช้กัน

1.สถานการณ์ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง   รายละเอียดที่พอหาได้ของธุรกิจนี้ทั้งหมด  เป็นยังไง  ลูกค้าคือใคร  ความนิยมอยู่ตรงไหน  คุณมีทุนเท่าไหร่  มีภาระค่าใช้จ่ายอะไร   มีเวลาขนาดไหน  ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่คุณทำ  เขียนใส่กระดาษไว้ 1 ใบ (ถ้าไม่พอ 2 ใบ  - 3 ใบ ก็ตามสบาย)

2.แล้วคุณอยากทำให้ธุรกิจของคุณ เป็นอย่างไร  ในเวลาที่คุณกำหนด  จะเอาสั้น-ยาว  ขนาดไหนก็ได้  เดือนนึง  ครึ่งปี  หรือสักปีนึง  เอาที่สามารถทำได้จริงๆนะครับ  ไม่ใช่วาดวิมานในอากาศ  เรียกง่ายๆว่า  บนพื้นฐานของความเป็นจริง  เพ้อฝันได้ครับ แต่อย่าเพ้อเจ้อ  อาจตั้งความหวังโหนสูงๆไว้ก็ได้ครับ  ไม่จำเป็นต้องเจียมเนื้อเจียมตัวมากนัก  ฝันให้ไกล  ไปให้ถึง  แต่อยู่บนเหตุผลที่เป็นจริง...

และเหมือนเดิม  เขียนใส่กระดาษอีก 1 ใบ

3.เอากระดาษแผ่นที่ 1 กับแผ่นที่ 2 มาดูด้วยกัน  แล้วพิจารณาหาวิธีที่ “เหมาะสม” ที่สุด  เพื่อใช้ข้อมูลในกระดาษใบแรก  มาดำเนินการให้เกิดผลลัพท์ตามที่เขียนไว้ในกระดาษใบที่ 2 หรือใกล้เคียงมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  เขียนมันออกมา แล้วลงมือทำ!

 

เท่านี้  คุณก็จะได้ “ความเหมาะสม” ที่จะนำมาใช้สร้าง Value ให้กับสินค้า / บริการ ในกิจการ SME ของคุณแล้ว  ง่ายไหมครับ

ไม่ได้หมายความว่า  คำตอบในกระดาษแผ่นสุดท้าย  จะถูกต้อง  และประสบความสำเร็จกันทุกคนนะครับ  เพราะความสามารถในการ “วิเคราะห์” และ “สร้างสรรค์” ของคนเรานั้นไม่เท่ากัน  นาย A อาจจะได้คำตอบจากกระดาษ 2 แผ่นแรก ไม่เหมือนกับ นาย B ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่า คำตอบของ A ถูกต้องกว่าของ B ทั้งหมด

คำตอบของทั้งคู่  ก็คงต้องมีบางอย่างบกพร่องอยู่บ้าง  และมีบางอย่างที่ “เหมาะสม” กับการสร้าง Value ให้กับธุรกิจอย่างน่าชื่นชม  แต่ที่แน่ๆ  การจัดลำดับความคิดของทั้งคู่  ก็น่าจะอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง และความเป็นไปได้  อยู่บ้าง

 

แต่หัวใจที่สำคัญที่สุด ของวิธีนี้  อยู่ที่การไม่โลเล  ตื่นเต้น  หรือตัดสินใจปุบปับ อย่างที่ลูกค้าของผมหลายๆคนชอบทำ

เอ๊ะ..ไปเห็นของที่นั่นมา  เป็นอย่างนี้  ดีจังเลย  ทำอย่างเค้าดีกว่า

เอ๊ะ..แวบคิดขึ้นมาได้  น่าทำนะ   ทำเลยดีกว่า

เอ๊ะ..เพื่อนบอกว่า  อันนี้ไม่ดีหรอก  อย่าทำเลย   เลิกดีกว่า

ก็ไอ้ “เอ๊ะ...”  นี่ละครับ  ที่หลายๆธุรกิจ  เสียโอกาสในการสร้าง Value ที่เหมาะสม  มาเยอะแล้ว

เวลาคุณนั่งพิจารณากลยุทธ์  ในการสร้างความเหมาะสมให้กับ Value ของกิจการนี่  คุณผ่านการคิดแบบมี Step มาแล้ว  ทั้งรวบรวมข้อมูล  ทั้งวิเคราะห์  ทั้งมองหาโอกาส แต่เวลาสั้นๆที่ได้ไปเห็นงานของคนอื่น  หรืออยู่ดีๆแวบคิดขึ้นมาได้  คุณกลับบอกว่า “เอ๊ะ..”  แล้วเปลี่ยนใจกระทันหัน  เพียงเพื่อตอบความรู้สึกว่า  ..น่าจะดีกว่า

 

ยิ่งเพื่อนมาบอกว่า  ทำอย่างงั้น  อย่างงี้  ดีกว่า  แล้วคุณก็เปลี่ยนใจ  ถามจริงๆเถอะว่า   เพื่อนผู้หวังดีน่ะเค้ารู้อะไรที่เกี่ยวกับธุรกิจ SME ของคุณ  เท่ากับที่คุณรู้ไหม  ต่อให้อยู่ในวงการเดียวกันมาก่อนก็เถอะ  เรื่องภายนอก  เค้าอาจรู้ครับ  แต่เค้าจะรู้ได้อย่างไรว่า  ปัจจัยภายในของคุณมันมีอะไรบ้าง  แล้วเพียงแค่คำบอกเล่าไม่กี่นาที  จากปากที่ใช้ความรู้สึกของคนอื่น  กลับมาทำให้คุณเปลี่ยนแปลงวิธีคิด  ที่อุตส่าห์นั่งวิเคราะห์ตั้งนานสองนาน  และเชื่อเค้าว่า ทำอย่างนี้ดีกว่า  ไปได้ในเวลาสั้นๆ  ทำไม?

หนักแน่นกับสิ่งที่คุณได้สรุปมาแล้ว  ในการหาคำตอบในการสร้าง “ความเหมาะสม”ให้กับ Value เพื่อสร้างธุรกิจของคุณให้มี “คุณค่าสำหรับลูกค้า” สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้จริง  และทดลองทำ  โดยจับตามองผลสำเร็จที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ  น่าจะดีกว่าครับ

หรืออย่างน้อย  ให้คำตอบในใจกับตัวเองบ้างว่า

“เอ๊ะ.. ก็ฉันได้คำตอบมาแล้ว  ทำอย่างเดิมดีกว่า”  บ้างนะครับ

 

ผ่านมา 3 ตอน  มีแต่เรื่องของ Value ค่อนข้างมาก  แต่ที่ผมเริ่มเขียนบทความ “การตลาดธุรกิจบริการ” มาเผยแพร่นั้น  มีสมการที่จำเป็น  คือ Value > Price ก็ยังคงเหลืออีกคำที่ยังไม่ได้เล่าให้ฟัง  คือ “Price”  อย่าเพิ่งแปลว่า ราคา  เด็ดขาดนะครับ  เพราะ “Price” ในที่นี้  ไม่ได้หมายถึงราคา  หรือจำนวนเงินที่ลูกค้าจ่ายให้คุณอย่างเดียวแน่ๆ  ความหมายของ “Price” นั้นมากกว่าที่คุณคิด !

แล้วตอนหน้า  ผมจะเล่าให้ฟัง...




(SME)การตลาดธุรกิจบริการ

การตลาดธุรกิจบริการ อ.สาธิต ถัดทะพงษ์
4 สาเหตุที่ทำให้สถานพยาบาลเอกชน “ ขาดทุน ” article
10 กลยุทธ์การตลาดสำหรับคลินิกเปิดใหม่
R.F.C.I : ทฤษฏีง่ายๆที่นักการเมืองใช้หาเสียง by อ.สาธิต (การตลาดธุรกิจบริการ)
การตลาดสถานบริการ / สถานพยาบาล ตอนที่ 5-1
การตลาดสถานบริการ / สถานพยาบาล ตอนที่ 5
Heavyweight Healthcare Marketing Course รุ่นที่ 2
ถอดรหัส Value>Price (3)
ถอดรหัส Value>Price(2)
ถอดรหัส Value>Price (1)
การตลาดสถานบริการ ตอนที่ 4 article
การตลาดสถานบริการ ตอนที่ 2
การตลาดสถานบริการ ตอนที่ 1



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2011 All Rights Reserved.
ชุมชนออนไลน์ เพื่อการพัฒนา SME ไทย www.exitcorner.com Powered by : Idea Line Co.,Ltd. google-site-verification: google881908aeaeb0f06e.html