ReadyPlanet.com
dot
solutier project
dot
Member log in
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
ต้องการข้อมูลข่าวสารจาก website

dot
สมาชิกที่ log in ขณะนี้
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 1 คน
dot
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน




ถอดรหัส Value>Price (1)

ผมเชื่อว่า  เพื่อนๆชาว SME น่าจะอยากรู้วิธีการวางกลยุทธ์การตลาดแบบ “เป็นเนื้อ  เป็นหนัง” หรืออาจคิดในใจว่า “เอาเนื้อๆ” กับบทความ “การตลาดสถานบริการ” ทั้ง 4 ตอนที่ผ่านมา  ใช่ไหมครับ

เดี๋ยวจัดให้...

จริงๆแล้วที่ต้อง “เล่า” อะไรต่อมีอะไรมาเยอะแยะมากมาย  ก็เพราะเป็นการปูพื้นฐาน และความเข้าใจคำว่า Price และ Value เอาไว้ก่อน  เพราะถ้าคุณไม่เข้าใจว่า สองคำนี้คืออะไร  แล้วคุณจะวาง “กลยุทธ์” ที่ถูกต้องได้ยังไงละครับ

แต่ก็อย่างว่า   คนไทย...ชอบทางลัด

เชื่อผมเถอะว่า  ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนน่ะ  ไม่มี “ทางลัด” ครับ หรือถ้าบังเอิญมี  ก็เป็นทางลัดที่ง่อนแง่น  เสี่ยง  และอาจเป็นเพียงเสี้ยวเวลาเดียวที่ธุรกิจนั้น “เฮง”

รับรองว่าทางลัดที่กล่าวมา  ไม่ยั่งยืน

กลับมาที่กลยุทธ์  ที่ทุกคนอยากรู้   ผมจะเล่าให้ฟังแล้วละนะ   แต่ก่อนที่จะเล่า  ผมขออกตัวสักนิดว่า ผมจะพยายามรวบรวมข้อมูลมาเล่าแบบ “บ้านๆ”  ไม่ใช่เชิงวิชาการที่เต็มไปด้วยศัพท์ยากๆ  อีกต่อไป  เพราะเนื่องจาก  ผมเองก็ไม่รู้ว่า เพื่อนๆSME ที่มาอ่านบทความนี้  อาจเป็นธุรกิจเล็กๆ  ถึงเล็กมาก  ซึ่งอยากได้ประโยชน์จากการอ่านบทความนี้  และนำไปใช้ได้จริงในการประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ

ซึ่งผมก็ชื่นใจถ้าบทความนี้  จะถูกนำไปใช้ได้จริง  มีประโยชน์กับผู้อ่าน มากกว่าการถูกยกยอปอปั้น  ว่า อ.สาธิต  นี่เก่งกาจจริงๆ  อธิบายวิชาการตลาดได้อย่างถึงแก่น  ศัพท์เทคนิคยากๆทุกคำเอามาสอนหมดเลย  เรื่องยากๆทั้งนั้น

ถามจริงๆเถอะ  ถ้าเรื่องมันยาก  แล้วจะไปทำมันทำไม  ทำเรื่องง่ายๆแต่ได้ผลสิครับ  โธ่

ดังนั้นหากท่านนักบริหาร  หรือนักวิชาการตลาดท่านใด  บังเอิญได้มาอ่าน  ผมขอบอกก่อนว่าผมไม่ได้กำลังสอนหนังสือ  เพื่อให้นักศึกษานำกลับไปท่องจำ  แล้วเอามาสอบให้ได้คะแนนสูงๆ  ซึ่งถ้าอยากอ่านบทความประเภทนั้น  ก็สามารถ Search หาอ่านได้ ใน Google อยู่แล้ว 

 

หรือไม่ก็กลับไปอ่าน Textbooks  …. OK?

 

เริ่มละนะ..

ลืมความรู้สึกว่า  เรากำลังคุยกันเรื่องสมการ  หรือ ศัพท์วิชาการยากๆไปก่อน  เพราะเรารู้แล้วว่า Value และ Price มันคืออะไร  ดังนั้นเมื่อผมเขียนคำว่า Value กับ Price  ก็ขอให้มองผ่านๆว่า  เป็นเพียงคำๆหนึ่งซึ่งเขียนง่ายกว่าคำว่า

“คุณค่ารวมของสินค้าและบริการ” กับ “ต้นทุนรวมของลูกค้าที่เสียไป” เท่านั้นเองครับ

เราจะพยายามสร้าง Value ให้สูงกว่า Price เพื่อการ “มัดใจ” ลูกค้า  เราต้องทำอะไร?

ตอบง่ายๆเลยว่า  “ก็เติม Value เข้าไปอีกเยอะๆ  และตัด  ลด Price ให้ลูกค้าให้มากที่สุด”  ก็เท่านั้น  มาดูวิธีกัน

 

เอาตรง “เติม Value” ก่อน

Value มี 4 เรื่องคือ    ภาพลักษณ์  ,  บุคลากร  ,  คุณค่าของบริการ  , ตัวสินค้า / บริการ

เติมให้หมดทุกตัว  เริ่มที่ ภาพลักษณ์   ไม่เยิ่นเย้อละนะ  บอกเลย  

1.สร้างแบรด์ (ตราสินค้า) ให้จำง่ายๆ  ดูดี  และฟังปุ้บเข้าใจป็บว่ายี่ห้อนี้มันคือบริการอะไร  แต่อย่าพยายามใส่ข้อมูลสินค้าลงไปในตราสินค้าทั้งหมด เลือกที่เหมาะสม  ไม่เว่อร์จนเกินไป และสั้นๆ  จำง่าย ภาษาไทยก็ได้ ภาษาอังกฤษก็ดี  ทั้งนี้ต้องหันมามองบริการของคุณด้วยว่า  อะไรเหมาะสม

หมอดู   ยี่ห้อ Siamastro ย่อมาจาก Siam + Astrology  น่าจะเหมาะกับการเปิดร้านในโรงแรมหรูๆ

หมอดู   ยี่ห้อ ตาทิพย์พยากรณ์  น่าจะเหมาะกับการตั้งโต๊ะดูหมอห้างสรรพสินค้า

หมอดู   ยี่ห้อ หมอโจ้ มหาโหรา  อาจจะเหมาะกับสนามหลวง  หรือตลาดนัด

คำสวยๆมีเยอะ  เปิดๆดูในเนตนี่ละครับ  แล้วเลือกเอาที่เห็นว่าดี  แต่ที่สำคัญพอเลือกได้แล้วลอง Searh คำนั้นดูสักนิด  ว่าซ้ำกับใครไหม  ถ้าซ้ำ ก็หาใหม่  เดี๋ยวก็ได้เอง

2.ปรับแต่งหน้าร้าน  หรือสำนักงานให้เหมาะสม  สวยงาม  สะอาด  ที่สำคัญมากๆคือ อย่าหักโหม  ทำไปเรื่อยๆ

ผมรู้จักนักธุรกิจหลายคน  ที่พยายามปรับภาพลักษณ์ในด้านอาคารสถานที่  ชนิด “ทุ่มทุนสร้าง”  ลงเงินกับการตกแต่งเป็นหลายๆแสน  หรือหลายๆล้าน  ทั้งเงินเย็น  เงินกู้  เพื่อตอบโจทย์เพียงอย่างเดียวคือ “ตัณหา”(ในใจเจ้าของ)  ที่ไปเห็นที่นั่น  ที่นี่  แล้วเกิดอาการ WOW! สวยจัง

สุดท้าย “เจ๊ง” ครับ  เพราะเวลาปรับปรุง  หรือก่อสร้าง  จ่ายไม่อั้น  อยากได้อะไรมาประดับก็วิ่งตะลอนๆไปหาซื้อ  แพงเท่าไหร่ไม่ว่า  ซื้ออะไรมาเท่าไหร่ก็ จดๆไว้  จ้างนักตกแต่งมืออาชีพมาออกแบบให้  ค่าแบบเป็นแสนหรือาจจะถึงหลักล้าน วงเหล้าเค้าเรียกว่า “เลี้ยงไม่ดูกำลังแขก”

สถานที่สวยๆ  อลังการมันก็ดีอยู่หรอก  แต่ภาพลักษณ์ที่เจ้าของอยากได้  กับภาพลักษณ์ที่ลูกค้าถูกใจและเหมาะสมกับเงินทุน  ที่ส่งผลถึงความรู้สึกของคุณในขณะที่ต้องบริหารกิจการอย่าง เคร่งเครียด  ว่าลงทุนไปตั้งเยอะ  เมื่อไหร่จะคืนทุน  เหนื่อยจัง  เครียดๆๆๆๆ...อย่างนี้ไม่ไหว  กดเงินเดือนพนักงานหน่อย  ตัดสวัสดิการ  ตัด Optionที่ควรให้ลูกค้า   ตัดงบการตลาด  ตัดๆๆๆ  ตัดยังไงก็ยังไม่คุ้ม   เลิกดีกว่า...

แถมบางทีลูกค้า  ก็แค่มองๆ  แล้วรู้สึกดี  สวยจัง  แต่ไม่ได้อะไรไปมากกว่านั้น  ไม่เอาไปเล่าให้ใครฟัง  ไม่รู้สึกติดใจ  แค่สวย (ตามความต้องการของเจ้าของ)

ผมเคยไป Consult ที่โรงพยาบาลหนึ่ง  ตกแต่งสวยงาม  หรูหรา  ตามประสา รพ.เอกชนระดับแนวหน้า  แต่ลูกค้าชาวบ้าน (ที่มีเงิน)  รวมถึงญาติผู้ป่วย  ไม่มานั่งที่โถง OPD เลย  แต่กลับไปนั่งปูเสื่อที่ใต้ต้นไม้นอกโรงพยาบาล  ด้วยเหตุผล “หรูเกินไป  ไม่กล้าเข้า” หรือ “ข้างในน่าจะของแพง”  ทั้งๆที่ราคาอาหารและเครื่องดื่มข้างใน รพ. ถูกมาก  ข้าวราดแกงจานละยี่สิบบาท!

และที่สำคัญ  รพ.นั้น  ชาวบ้านไม่กล้าเข้า  ด้วยความรู้สึก “แพงแน่”  หรูหราเหลือเกิน...

เอาแค่พอเหมาะสม  ตามหลักฮวงจุ้ยเค้าบอกไว้เลย  3ส.  คือ สะอาด  สว่าง  สะดวก  แค่นี้ก็พอ  อาจเติมการตกแต่งที่เหมาะสมลงไปได้บ้าง  แต่ขอให้เลือกใช้ของตกแต่งที่ไม่แพงมาก  ไม่ต้องถึงขนาดมานั่งเครียดว่า  เมื่อไหร่จะได้กำไรคุ้มค่าตกแต่ง  แทนที่จะมีสติปัญญาไปคิดบริหารงาน  บริหารคน กลับต้องมาเครียดๆๆ  กับยอดขาย กับการหาลูกค้า ที่ช่วงแรกๆยังไม่ได้อะไรมากอยู่แล้ว

ส่วน ส. ตัวที่ 4 คือ “สวย” น่ะ  ค่อยๆทำไปเรื่อยๆก็ได้ครับ   พอเริ่มมีสตังค์  ก็ค่อยๆเติม  ดีเสียอีก ลูกค้าประจำที่มาใช้บริการบ่อยๆ  เค้าจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลง  ไม่น่าเบื่อ  ซ้ำซากจำเจ

 

3.อย่ามองข้าภาพลักษณ์เล็กๆน้อยๆ

ก็พวกนามบัตร  เอกสาร  โลโก้  หรือ “ของประกอบ” อื่นๆที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจของคุณ  เลือกที่บ่งบอกและเหมาะสมถึงกิจการของคุณได้ดี  ซึ่งบางครั้งคุณอาจละเลย  มองข้าม  หรือมักง่าย  ขอคุยเรื่องใกล้ตัวที่สุดก่อน  คือ “โลโก้”

โลโก้นั้น  สำคัญมาก  ซึ่งเน้นที่ความเป็นเอกลัษณ์  หรือนำเสนอบริการผ่าน โลโก้  ไม่ใช่ “สวย”

เราคงเคยเห็นโลโก้ในรูปแบบต่างๆกันมามากมาย  บางโลโก้ก็สวยดี  บางโลโก้ก็ติดตา  บางโลโก้จำได้  บางโลโก้ตลกๆ  บางโลโก้ก็..เลียนแบบ

ไม่ใช่แค่โลโก้อย่างเดียวที่เลียนแบบ  ชื่อเรียกยังเลียนแบบเค้าเลย  แล้วคุณค่าในมุมมองอของลูกค้าอยู่ที่ไหนครับ  ถ้าไม่ใช่ .. ของปลอม

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด Iped !  หรือ Apad นั่นไงครับ  ทำทุกอย่างเหมือน Ipad แต่คุณภาพ  วัสดุ  ประสิทธิภาพ  ราคา แตกต่าง  และที่สำคัญ “ภาพลักษณ์” ก็แตกต่าง  ถ้าเป็นคุณ อยากจะโชว์และใช้อะไร ped หรือ pad โชว์และใช้นะครับ   ไม่ใช่ใช้แต่ต้องแอบๆโชว์!

มาถึงเรื่องนามบัตร และเอกสาร  ที่บ่งบอกถึง ภาพลักษณ์ ที่ดี  คงเข้าใจได้ไม่ยากว่า  ถ้าคุณได้รับนามบัตร หรือใบปลิวที่ใช้กระดาษสี A4 มาพิมพ์แล้วถ่ายเอกสารใบละ 50 ส.ต. ตัดตรงบ้างเบี้ยวบ้าง คุณจะรู้สึกอย่างไร

สมัยนี้นามบัตร  พิมพ์ 4 สี ใบละบาทเดียว   ใบปลิว A4 พิมพ์สี่สีสองด้านกระดาษปอนด์  ก็ใบละบาท  ประหยัดอะไรกันนักหนา?

อย่าปล่อยให้องค์ประกอบเล็กน้อย  มาทำลายภาพลักษณ์ของคุณเลยครับ ลองมองดูรอบๆตัวว่า  มีอะไรไหมที่ยังดูบกพร่อง  แล้วปรับปรุงถ้าทำได้  ทันที!

ง่ายๆอย่างนี้ละครับ  ภาพลักษณ์  อย่าไปคิดอะไรมาก  แต่ถ้าธุรกิจของคุณมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น  และมีกำลังมากขึ้น  ก็คงต้องมองปัจจัยด้านภาพลักษณ์ที่เป็นเรื่องเป็นราวมากขึ้นอย่างข้อต่อไป ...สื่อและการโฆษณา..

 

4.สื่อและการโฆษณา  ความยาก...ที่นีกว่าง่าย

เรื่องนี้จริงๆผมไม่แนะนำให้คุณคิดเองเลย   ถ้าอยากทำ พึ่งพาบริการของมืออาชีพเถอะครับ  เพราะถ้าเมื่อไหร่คุณมีความพร้อมที่จะทำสื่อโฆษณา  ย่อมแปลว่า  ธุรกิจของคุณมาถึงจุดที่เริ่มประสบความสำเร็จบ้างแล้ว  เรื่องนี้ไม่ใช่ง่ายๆ  ต้องร่ำเรียนและเข้าใจในวิธีคิด  วิธีสร้างสรรค์

บริษัทโฆษณา หรือ เอเจนซี่  ยังต้องมีมืออาชีพไว้แบ่งงานกันทำอย่างเป็นระบบ  มีทั้ง Art Director   Creative  Production ฯลฯ  มากมาย  เงินเดือนหลักหลายหมื่นหรือหลักแสน

ลำพังคุณคนเดียว  ที่คิดว่าตัวเอง “ครีเอท” หนักหนา  สามารถสร้างสรรค์สื่อได้อย่างเฉียบขาด  แล้วมานั่งภาคภูมิใจอยู่ลึกๆ  ทุกครั้งที่ได้เห็น หรือได้รับฟัง “ไอเดีย” ของคุณทางสื่อที่คุณจ่ายเงินออกไปเพื่อเผยแพร่  โอกาสที่สื่อนั้นจะได้ผล ทั้งการขาย  และภาพลักษณ์ มีไม่เกิน 5% หรอกครับ

ในทางตรงข้าม  โอกาสที่สื่อนั้นจะเสียเปล่า  หรือกลับกลายเป็น “ทำลายภาพลักษณ์” มีสูงถึง 95% !  อยากเสี่ยงไหม?

ถ้าคิดว่า ทำแล้วได้ผล แต่ไม่มีเงินจ้างบริษัทโฆษณา  อย่างน้อยก็ปรึกษาคนในวงการโฆษณา  หรือคนใกล้ตัวที่เค้ามีประสบการณ์หน่อย ก็ยังดีสมัยนี้ธุรกิจโฆษณาแข่งขันกันสูงมาก  หนังสือมีเป็นหมื่นๆแสนๆเล่ม  วิทยุอีก ใครๆก็อยากหาสปอนเซอร์  แข่งกันหาข้อมูลมาเสนอคุณว่า “เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายแน่ๆ  เพิ่มยอกขายได้สบายๆ”  คุณก็ฟังจนเคลิ้ม  แล้วซื้อ  ได้กลับมาแค่ความภูมิใจว่า “ฉันก็มีโฆษณา”

ปรึกษามืออาชีพเถอะครับ  เสียเงินฟรีๆ  ไม่สนุกหรอก         

 

สรุปอีกครั้งว่า  เรื่อง “ภาพลักษณ์” นี่  เติมแค่ 3 อย่าง (ยกเว้นเรื่องโฆษณา ถ้าอยากทำ  จ้างคนอื่น)

1.สร้างแบรนด์    2.ปรับแต่งอาคารสถานที่ให้เหมาะสม  3.องค์ประกอบเล็กน้อย เอกสารและโลโก้

คราวหน้า  มาต่อเรื่องการเพิ่มคุณค่า  ให้กับ “บุคลากร” หัวใจหลักของธุรกิจบริการครับ




(SME)การตลาดธุรกิจบริการ

การตลาดธุรกิจบริการ อ.สาธิต ถัดทะพงษ์
4 สาเหตุที่ทำให้สถานพยาบาลเอกชน “ ขาดทุน ” article
10 กลยุทธ์การตลาดสำหรับคลินิกเปิดใหม่
R.F.C.I : ทฤษฏีง่ายๆที่นักการเมืองใช้หาเสียง by อ.สาธิต (การตลาดธุรกิจบริการ)
การตลาดสถานบริการ / สถานพยาบาล ตอนที่ 5-1
การตลาดสถานบริการ / สถานพยาบาล ตอนที่ 5
Heavyweight Healthcare Marketing Course รุ่นที่ 2
ถอดรหัส Value>Price (3)
ถอดรหัส Value>Price(2)
การตลาดสถานบริการ ตอนที่ 4 article
การตลาดสถานบริการ ตอนที่ 3
การตลาดสถานบริการ ตอนที่ 2
การตลาดสถานบริการ ตอนที่ 1



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2011 All Rights Reserved.
ชุมชนออนไลน์ เพื่อการพัฒนา SME ไทย www.exitcorner.com Powered by : Idea Line Co.,Ltd. google-site-verification: google881908aeaeb0f06e.html