ReadyPlanet.com
dot
solutier project
dot
Member log in
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot
ต้องการข้อมูลข่าวสารจาก website

dot
สมาชิกที่ log in ขณะนี้
ยังไม่มีสมาชิกที่ล็อกอินในขณะนี้
bulletบุคคลทั่วไป 6 คน
dot
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน




4 สาเหตุที่ทำให้สถานพยาบาลเอกชน “ ขาดทุน ” article

4 สาเหตุที่ทำให้สถานพยาบาลเอกชน  “ ขาดทุน ”

จากที่ได้เคยเล่ามาในตอนก่อน ๆ นี้แล้วว่า  ผมเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาทางการตลาด และการบริหารสถานพยาบาลเอกชน  ตั้งแต่ระดับคลินิกเล็ก ๆ จนถึง รพ.เอกชน ขนาดหลายร้อยเตียง เป็นระยะเวลามากว่า 10 ปีนั้น  วันนี้อยากมาสรุป  สาเหตุหลัก ๆ ของการ “ ขาดทุน ”  หรือ “ เจ๊ง ” ของสถานพยาบาลเอกชน ให้ได้ฟังกัน

 

สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้สถานพยาบาลเอกชนในทุกระดับ ประสบภาวะขาดทุน มีหัวใจหลัก ๆ อยู่เพียง 4 ข้อ ดังนี้


1. แพทย์
ไม่น่าเชื่อว่า ทรัพยากรที่ควรจะเป็นกลไกหลักในการสร้างผลประกอบการธุรกิจ สถานพยาบาลให้ดียิ่งขึ้นนั้น  จะกลับกลายเป็น ผู้ทรงอนุภาพในการสร้างภาวะขาดทุน ให้กับสถานประกอบการเสียเอง  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น  จะไปโทษที่ตัวตนของแพทย์ เสียอย่างเดียวก็ไม่ได้  ต้องโทษที่กรรมวิธีในการบริหารจัดการและการสร้างความเข้าใจ ในการประกอบธุรกิจให้กับแพทย์ทุกท่าน อย่างต่อเนื่อง
แต่สิ่งที่พบเห็นกันทั่วไป  กลับกลายเป็นการปล่อยปละ ละเลย  ให้แพทย์ร่วมบริหารจัดการธุรกิจตามอำเภอใจ  ตัวอย่างง่าย ๆ เช่น  การเลือกใช้ยาและเวชภัณฑ์  รวมถึงสถานพยาบาลส่วนใหญ่มักประสบปัญหาเรื่องการบริการของแพทย์  ที่เด่นชัดก็มักเป็นเรื่องของ  เวลา , พฤติกรรมบริการ  ซึ่งทำให้ภาพรวมการบริการของแพทย์มีความแตกต่างกันของแต่ละบุคคลอย่างเห็นได้ชัด 
ต้องยอมรับกันว่า  การที่อัตรากำลังของแพทย์  (โดยเฉพาะแพทย์เฉพาะทาง Part Time )  ซึ่งขาดแคลนอย่างยิ่งในปัจจุบัน  จนหลาย ๆ สถานพยาบาลไม่กล้าที่จะใช้กฎระเบียบข้อบังคับ  แต่กลับใช้การดูแลเอาอกเอาใจแพทย์ มากเป็นพิเศษ  พอถึงเวลาที่จะขอความร่วมมือใด ๆ ก็ตามจากแพทย์  เช่น การเชียร์แอดมิด  หรือการขอให้ใช้ยาและเวชภัณฑ์ที่เหมาะสมกับธุรกิจ  จึงไม่กล้าพูดอย่างเต็มปากเต็มคำนัก  สุดท้ายก็ต้อง ยอม ๆ กันไป ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของลูกค้า หรือคนไข้ทางด้านลบ  และเกิดการบอกต่อในแง่ลบต่อไปเรื่อย ๆ

 


 
2. ระบบ บริหารจัดการบุคลากร ไม่มีประสิทธิภาพ 

ที่เห็นได้ชัดคือ กลุ่มเจ้าหน้าที่วิชาชีพ เช่น พยาบาล ,  เภสัชกร , รังสี  ฯลฯ   หรือแม้กระทั่งบุคลากรวิชาชีพระดับปฏิบัติการ  เช่น เจ้าหน้าที่เปล , รปภ.
ก็คงคล้าย ๆ กับกรณีของแพทย์ที่กล่าวมาแล้ว  สาเหตุหลัก ๆ ก็คงเกิดจากความเชื่อในวงการที่ฝังแน่นว่า  เจ้าหน้าที่กลุ่มนี้หายาก หาเย็น  ถ้าฝ่ายบุคคลไม่แข็งแกร่งพอ  ไม่กล้าจัดระบบการทำงานให้เป็นรูปธรรม  ก็เท่ากับปล่อย ให้ตัวตนของเจ้าหน้าที่เหล่านี้ทำงานกันเองตามอัธยาศัย  จนส่งผลกระทบกับความเชื่อมั่นของผู้มารับบริการในที่สุด
ไม่เพียงแต่เจ้าหน้าที่สายงานวิชาชีพเท่านั้น  ในวงการนี้กลับมีเรื่องน่าแปลกใจที่เจ้าหน้าที่ส่วน สำนักงานอื่น ๆ ไม่ได้รับการเหลียวแลในการพัฒนาคุณภาพการบริการ  รวมถึงด้านรายได้ที่เหมาะสมและจูงใจ  ทั้ง ๆ ที่ หน่วยงานสำนักงานต่าง ๆ เหล่านี้ ก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า ส่วนงานทางวิชาชีพเท่าใดนัก  และงานก็หนักมากพอ ๆ กัน  การไม่ให้ความใส่ใจกับหน่วยงานสำนักงานเหล่านี้ ก็ส่งผลให้การปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ผิดพลาด  ส่งผลเสียกับธุรกิจได้เช่นเดียวกัน
เป็นเรื่องน่าแปลกในวงการสถานพยาบาล  ที่ผู้บริหารมักมีมุมมองในการบริหารเพียงด้านเดียว คือ บริการทางวิชาชีพ  และยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุด  เรื่องนี้ผมไม่เถียงว่ามันสำคัญ  แต่ถ้าคุณประกอบธุรกิจสถานพยาบาล  แต่ละเลยมุมมองด้านบริหารธุรกิจ  หรือให้ความสำคัญน้อยกว่ามุมมองด้านวิชาชีพ  แล้วคุณจะมาทำธุรกิจ..ทำไม ?

 

3. อ่อนประชาสัมพันธ์ และ ศักยภาพทางการตลาดต่ำ 


สถานพยาบาลในยุคปัจจุบัน หนีไม่พ้นหรอกครับที่ต้องการประชาสัมพันธ์และการตลาด  แนวคิดแบบเก่า ๆ ที่คาดหวังการให้บริการที่ดี แล้วคนไข้จะไปบอกต่อ  ซึ่งหลาย ๆ สถานพยาบาลประสบความสำเร็จมาแล้วนั้น  อาจยังใช้ได้อยู่บ้างในปัจจุบัน  แต่คุณเคยตั้งข้อสงสัยบ้างไหมว่า  ทำไมสินค้าและบริการชื่อดังจำนวนมาก  ยังคงต้องทำการตลาดกันอย่างต่อเนื่อง  ยกตัวอย่างให้ฟังก็ได้ 
มาม่า , แป๊บซี่ , โตโยต้า , วุฒิ-ศักดิ์ , พญาไท  ฯลฯ 
ความจำเป็นในการประชาสัมพันธ์เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้  ที่พบเห็นมาบ่อย ๆ สถานพยาบาลมักให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอันดับท้าย ๆ หรือแม้กระทั่งอาจไม่ได้มีผู้รับผิดชอบงานด้านนี้โดยตรง อย่างแท้จริง 


เจ้าของธุรกิจสถานพยาบาลหลาย ๆ คน  มีความรู้สึกสิ้นเปลืองหรืออาย ที่จะบอกว่าตัวเองต้องทำการตลาด  คุณกำลังทำธุรกิจ นะครับ !   คำว่าธุรกิจ หมายถึง  คุณมีการลงทุนเกิดขึ้น  ทั้งเงินเดือนค่าจ้าง , เครื่องมือแพทย์ , ยาและเวชภัณฑ์ ต่าง ๆ  รวมถึงดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นทุกวินาที  แล้วถ้าคุณไม่รีบเร่งเพื่อเพิ่มผลประกอบการ  หรือมัวแต่เหนียมอายที่จะบอกว่าคุณทำธุรกิจ  สุดท้ายคำว่า “ ขาดทุน ”  ก็เป็นสิ่งที่คุณหนีไม่พ้น  ยกเว้น คุณจะเฮงจริงๆ นั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง

 

4. ข้อสุดท้าย คือ  ไม่สามารถบริหารต้นทุนให้เหมาะสม หรือเรียกง่าย ๆ ว่า  “  การบริหารการเงิน ขาดประสิทธิภาพ ”
เจ้าของธุรกิจสถานพยาบาลที่ประสบปัญหาขาดทุน  ส่วนใหญ่มักขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารการเงิน อย่างเป็นระบบ !    มุ่งมั่นเพียงแค่การหาลูกค้าให้มากที่สุด รวมถึงการลดค่าใช้จ่ายให้น้อยที่สุด เท่าที่จะทำได้  จนในบางครั้งการประหยัดค่าใช้จ่าย  กลับส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในผลของการให้บริการของธุรกิจคุณเอง 
การบริหารการเงินที่ถูกต้อง  มิได้มีความหมายเพียงแค่ “ หาเงินมาก  ใช้เงินน้อย ”  เท่านั้น  !   แต่กลับมีความหมายที่ยิ่งใหญ่ในการพัฒนาธุรกิจอย่างคาดไม่ถึง  ซึ่งในการพัฒนาธุรกิจต้องมีการวางแผนการเงินที่เฉียบขาด  รวมถึงความรู้ความเข้าใจในระบบการเงินอย่างถูกต้องและชัดเจน  ตัวอย่างเช่น  ระบบบัญชี  ภาษี  งบประมาณ  ค่าใช้จ่ายที่มองไม่เห็น  ซึ่งคุณจะต้องใช้เงินทั้งนั้นเพื่อต่อยอดธุรกิจให้เดินหน้า  อย่างไม่หยุดยั้ง 

 


เท่าที่พบเห็นมา  เจ้าของสถานพยาบาลส่วนใหญ่  ไม่ค่อยมีความรู้ในการบริหารการเงินเท่าที่ควร  ลูบหน้าปะจมูก กันไปเรื่อยๆ  ช่วงไหนต้องใช้เงินก้อนใหญ่ ๆ ก็มักเกิดภาวะเครียดและมองหาทุกวิถีทางในการตัดลด งบประมาณส่วนอื่น ๆ จนในบางครั้งไปตัดในส่วนที่ไม่ควรตัด  ลดในสิ่งที่ไม่ควรลด  ก็ส่งผลเสียกับงานเหมือนกัน


ทั้งหมดที่กล่าวมานี้  รับรองได้ว่าสถานพยาบาลที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจ  จะให้ความสำคัญในการบริหารปัญหาทั้ง  4  อย่างใหญ่หลวง  ในขณะเดียวกันข้อใดข้อหนึ่งใน 4 ข้อนี้หรือทุก ๆ ข้อจะเกิดขึ้นในสถานพยาบาลที่ขาดทุน  และไม่ประสบผลสำเร็จทางธุรกิจเลย 


ลองหันกลับไปมองธุรกิจสถานพยาบาลของคุณด้วยใจเป็นกลาง  ว่าสิ่งที่ผลเล่ามานั้นเกิดขึ้นหรือไม่  กับสถานพยาบาลของคุณ  และคุณสามารถแก้ไขมันได้หรือไม่  อย่างน้อยคุณจะได้หลีกเลี่ยงโอกาสที่จะพบกับคำว่า “ ขาดทุน ”  ในคำว่า  “ ธุรกิจสถานพยาบาล ”




(SME)การตลาดธุรกิจบริการ

การตลาดธุรกิจบริการ อ.สาธิต ถัดทะพงษ์
10 กลยุทธ์การตลาดสำหรับคลินิกเปิดใหม่
R.F.C.I : ทฤษฏีง่ายๆที่นักการเมืองใช้หาเสียง by อ.สาธิต (การตลาดธุรกิจบริการ)
การตลาดสถานบริการ / สถานพยาบาล ตอนที่ 5-1
การตลาดสถานบริการ / สถานพยาบาล ตอนที่ 5
Heavyweight Healthcare Marketing Course รุ่นที่ 2
ถอดรหัส Value>Price (3)
ถอดรหัส Value>Price(2)
ถอดรหัส Value>Price (1)
การตลาดสถานบริการ ตอนที่ 4 article
การตลาดสถานบริการ ตอนที่ 3
การตลาดสถานบริการ ตอนที่ 2
การตลาดสถานบริการ ตอนที่ 1



Copyright © 2011 All Rights Reserved.
ชุมชนออนไลน์ เพื่อการพัฒนา SME ไทย www.exitcorner.com Powered by : Idea Line Co.,Ltd. google-site-verification: google881908aeaeb0f06e.html