ReadyPlanet.com


ถอดเทปสัมภาษณ์ อ.สาธิต รายการ e-biz
avatar
AE


user image

สวัสดีค่ะ เพื่อนๆชาว SME

วันพฤหสบดีที่ 7 เมษายน 2554 อ.สาธิต ได้รับเชิญไปให้สัมภาษณ์ทางรายการ e-biz ซึ่งตอนนี้ทางบริษัทฯยังไม่ได้รับเทปบันทึกการสัมภาษณ์  จึงขอถอดเทปมาให้เพื่อนๆชาว SME ที่สนใจด้านการตลาดธุรกิจโรงพยาบาล ดูกันก่อนค่ะ

ได้เทปมาเมื่อไหร่จะมาโพสให้ชมกันนะคะ

^ ^



ผู้ตั้งกระทู้ AE (signmaster_andmore-at-hotmail-dot-com) กระทู้ตั้งโดยสมาชิก :: วันที่ลงประกาศ 2011-04-09 08:48:58 IP : 49.49.123.232


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3288601)
avatar
AE

1.วิเคราะห์...จากข่าวการควบรวมกิจการของโรงพยาบาล เอกชนชั้นนำของเมืองไทย

ไม่ทราบที่มาแน่ชัดครับ  เพราะเรื่องนี้เป็นการดำเนินกิจการทางด้านธุรกิจของกลุ่ม BigBrand ด้านธุรกิจนี้   แต่ว่าถ้าให้วิเคราะห์  ก็คงเป็นการดำเนินงานภาคธุรกิจ  ซึ่งส่งผลถึงการพัฒนาตามแผนพัฒนาประเทศไทยให้เป็น "Medical Hub" หรือศูนย์กลางสุขภาพของเอเชีย 

อาจเป็นรูปแบบการสร้างธุรกิจโรงพยาบาลให้เป็น"Core Business" ในอนาคต เพราะแนวโน้มการเติบโตในแต่ละปีจากตัวเลขมูลค่าตลาดได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจำนวนลูกค้าต่างประเทศ ซึ่งมีกำลังซื้อมหาศาล รวมถึงจากนโยบายรัฐบาล ที่จะสร้างให้เมืองไทยเป็น "Medical Hub" หรือศูนย์กลางสุขภาพของเอเชียแล้ว เป็นแรงเสริมที่จะเคลื่อนธุรกิจนี้ให้มีขนาดใหญ่ยิ่งขึ้น  ซึ่งธุรกิจเองก็ต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับการขยายตัวในส่วนนี้ครับ

 
ธุรกิจโรงพยาบาลของไทย มีจุดแข็ง และข้อได้เปรียบ ดังนี้ครับ
 
1.ความสามารถในการรักษาของแพทย์ไทย 
2.ราคาไม่แพง หากเปรียบเทียบกับระดับมาตรฐานการรักษาเดียวกัน ไทยถือว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาสูงติดอันดับโลก ในขณะที่ราคาสามารถเทียบเคียงได้กับอินเดียเท่านั้นครับ
 3. เป็นเรื่องของการให้บริการ (Hospitality) ที่ดีของไทย ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ของไทยเป็นที่ชื่นชอบของต่างชาติมาก รวมถึงการบริการด้วยน้ำใจ  ยิ้มแย้มแจ่มใส เมื่อมีการประเมินผลงานคูรภาพของโรงพยาบาล  คะแนน รพ.ของไทยจึงติดอันดับต้นๆมาโดยตลอด

ผมมองว่าปัจจัยต่างๆเหล่านี้  เป็นส่วนหนึ่งในความพยายามควบรวมกิจการ  เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับวงการครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น AE (signmaster_andmore-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-04-09 09:11:58 IP : 49.49.123.232


ความคิดเห็นที่ 2 (3288605)
avatar
AE

2.กำลังเกิดอะไรขึ้นกับธุรกิจโรงพยาบาล    (เป็นยุคที่มีการแข่งขันมากที่สุดหรือเปล่า)


ธุรกิจโรงพยาบาล  ไม่ใช่การแข่งขันแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด หรือ brand ใคร brand มันอยู่แล้ว  ยกตัวอย่างง่ายๆว่า  แพทย์หนึ่งท่าน  ก็อาจสามารถไป part time ในรพ.เอกชนที่แตกต่างกันได้ หรือแม้แต่แพทย์ท่านั้นก็มีธุรกิจคลินิกของตัวเอง  ส่วน  เครื่องมือแพทย์บางชนิด ก็พึ่งพาอาศัยกันอยู่


ถ้าถามถึงการแข่งขัน  จริงๆแล้วทุกโรงพยาบาลต่างก็แข่งขันกับตัวเองเป็นหลัก  แข่งขันกันพัฒนาคุณภาพการบริการ และเทคโนโลยี่  ให้เป็นเลิศที่สุดเท่าที่จะทำได้  เพราะนั้นการแข่งขันในธุรกิจนี้จริงๆแล้วเป็นการแข่งขันกับตัวเอง  ให้มีบริการที่ดีเยี่ยม และทันสมัยมากกว่าคนอื่น

เพื่อความเชื่อมั่นของผู้รับบริการ อยู่แล้ว  ทุกยุคทุกสมัย  ต้องพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลาไม่มีช่วงไหน  มากน้อยไปกว่ากันครับ  อาจมีบ้างที่มีคู่แข่งใหม่ๆ  หรือแบรนด์ดังๆ  เข้ามาแชร์ส่วนแบ่งตลาด  ทำให้การแข่งขันสูงขึ้น  แต่สุดท้าย  จำนวนแพทย์เฉพาะทาง คุณภาพการบริการ  และเทคโนโลยี่  ก็จะทำให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินเองว่า  ควรเลือกใช้โรงพยาบาลไหนครับ   

ผู้แสดงความคิดเห็น AE (signmaster_andmore-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-04-09 09:32:51 IP : 49.49.123.232


ความคิดเห็นที่ 3 (3288606)
avatar
AE

3.ทำไม....โรงพยาบาล (ซึ่งเป็นการบริการสุขภาพ)  ต้องทำการตลาด?


ตอบได้เลยว่า เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการอย่างรวดเร็ว และเหมาะสมครับ
ทำอย่างไรคนไข้ จะรู้ว่า ถ้าเป็นมะเร็งไปหาหมอที่ไหน  แล้วเชื่อถือได้  ดูแลปัญหาสุขภาพได้ดี  และเหมาะสมครับ


โรคภัยไข้เจ็บ รอไม่ได้ได้ครับ
ผ่าตัดสมอง ช้าไปสิบนาที นี่เป็นเจ้าชายนิทราเลยนะครับ
ถ้ามีแพทย์ผู้ศัลย์กรรมสมอง แล้วไม่ทำการตลาด  เพื่อให้ประชาชนรับทราบ
ผลเสียตกที่ใครครับคนไข้หรือโรงพยาบาล 

 
และที่สำคัญ  กาตลาดก็เป็นส่วนสำคัญในการรวบรวมข้อมูลความพีงพอใจ  หรือความบกพร่องของการให้บริการ  จากภายนอกได้เป็นอย่างดี    ส่วนใหญ่การจัดเก็บข้อมูลความพึงพอใจของผู้มารับบริการ  ก็ใช่วิธีง่ายๆ  คือการออกแบบเอกสารให้ลูกค้ากรอก  หรือการสอบถามข้อมูลดดยตรงจากผู้มารับบริการ  แต่สิ่งที่เก็บได้  ก็ยังไม่ใช่ fact ที่แท้จริง  บางข้อมูลก็ไม่ได้ถูกนำเสนอให้ทางโรงพยาบาลรับรู้

ดังนั้นการทำการตลาดของโรงพยาบาล  นอกจากจะเป็นการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านการบริการที่ดีเยี่ยมแล้ว  อีกอย่างที่จะได้ ก็คือ เสียงสะท้อน  เกี่ยวกับข้อดีข้อเสียของโรงพยาบาลเอง  ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีความสำคัญมากในการพัฒนา และปรับปรุงคุณภาพการบริการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  ซึ่งสำคัญกว่าการโฆษณาประชาสัมพันธ์อย่างมากเลยครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น AE (signmaster_andmore-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-04-09 09:36:21 IP : 49.49.123.232


ความคิดเห็นที่ 4 (3288607)
avatar
AE

4.จากที่อาจารย์อยู่ในวงการนี้มานาน ทำการตลาดให้กับโรงพยาบาลมามากมาย  รบกวนขอความรู้...ว่าหลักของการทำตลาดในวงการแพทย์นั้นเป็นอย่างไร แตกต่างกับการตลาดทั่วไปหรือไม่ อย่างไร


การตลาดสถานพยาบาล ต้องเข้าใจ Product ก่อน 99%  ของธุรกิจรพ.เป็นธุรกิจที่เรียกง่ายๆว่า ขายของที่ไม่มีคนอยากซื้อ  ยกตัวอย่างเช่นถ้าผมทำโฆษณาว่า  รพ.นี้มีแพทย์และเครื่องมือด้านการผ่าตัดสมองที่ดีเยี่ยม  จะมีใครฟังแล้วคิดว่า  อืมม  น่าไปผ่าสมองจัง  ไหมครับ 

การทำการตลาด เป็นเพียงแค่การปลูกฝังความทรงจำว่า  ในกรณีเจ็บป่วยเกี่ยวกับสมอง  ควรไปพบแพทย์ที่ไหนถึงจะได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว  และเหมาะสมกับอาการนั้นๆ

คำว่า  ขายของที่ไม่มีคนอยากซื้อ  นั่นก็คือ  ไม่อยากซื้อถ้าไม่จำเป็น  จะมีบ้างเล็กน้อยในกรณี check up หรือตรวจสุขภาพ ซึ่งหมายถึงส่วนใหญ่ ซื้อในยามที่จำเป็น หรือเจ็บป่วย

ที่กล่าวมานี้เฉพาะด้านการรักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย ไม่รวมด้านความสวยงาม  ผิวพรรณ หรือ Plastic surgery(ศัลยกรรมความงาม)นะครับ   ที่ แยกส่วนออกมาเป็นอีกประเด็นหนึ่งซึ่งมีความต้องการสูงมากอยู่แล้ว

ดังนั้นจึงต้องขยายมุมมองเกี่ยวกับคำว่าการตลาดก่อน  ว่าการตลาดไม่ใช่เพียงแค่การโฆษณา  หรือการสร้างโปรโมชั่น แต่เป็นการพัฒนา Value>Price ให้ได้


price ก็ไม่ใช่แค่เงิน แต่หมายถึง เวลา  พลังงาน  ความรู้สึกดีไม่ดีของลูกค้า  ต้องเข้าใจเรื่องสิทธิการรักษาพยาบาลก่อนว่า  ในลูกค้าหนึ่งคน  มีสิทธิที่เลือกใช้ได้มากมาย  เงินสด ประกันสังคม  บัตรทอง  ประกันชีวิต  เบิกจ่ายข้าราชการ  หรือต้นสังกัด  มากมาย 

แต่การทำตลาดของโรงพยาบาลเอกชน  เน้นการสร้างความเชื่อมั่น  และความสะดวกสบาย  ให้แก่ผู้รับบริการ  จนเลือกใช้สิทธิที่เหมาะสมกับการเข้ารับบริการในสถานพยาบาลนั้นๆ  เช่นเงินสด  หรือ ประกันชีวิต  แทนการใช้สิทธิอื่นๆ  ทั้งๆที่อาจไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายด้วยซ้ำ 

ยกตัวอย่างง่ายๆ  ก็คงเคยเห็นข้าราชการ  ที่สามารถใช้สิทธิ์รักษาพยาบาลได้  แต่ไปรักษาตัวในรพ.เอกชน  โดยชำระเงินสด  หรือซื้อประกันชีวิต  เนื่องจากเห็น Value ที่สูงกว่า  นี่ละครับผลจาการทำการตลาดโรงพยาบาล

รวมถึงต้องเข้าใจ กฏหมายควบคุมการโฆษณาสถานพยาบาล เช่น จะพูดไม่ได้เลยว่า  ดีกว่า  ดีเยี่ยม  หายแน่ อะไรพวกนี้ละครับ


ความแตกต่างก็คงเห็นได้ชัดจากที่พูดมานะครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น AE (signmaster_andmore-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-04-09 09:41:15 IP : 49.49.123.232


ความคิดเห็นที่ 5 (3288609)
avatar
AE

5.ประเภท/ ขนาด ของโรงพยาบาล เป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาในการวางแผนการตลาดอย่างไร


ประเภทของโรงพยาบาลเป็นปัจจัยแน่นอน  แต่ที่สำคัญที่สุดในปัจจุบันและอนาคตคือแพทย์เฉพาะทาง  ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญ   รวมถึงคุณภาพการบริการต่าง  เช่นเครื่องมือแพทย์  ความสะดวกรวดเร็ว  เทคโนโลยี  ความพร้อมในทุกๆด้าน


ขนาดของ รพ.เป็นปัจจัยที่เล็กมากครับ  เมื่อเทียบกับความศรัทธา และคุณภาพการบริการ  เพราะ sizing ของ รพ.กำหนดจากจำนวนเตียงที่ให้ผู้ป่วยในใช้บริการ ซึ่งจะไม่มีความหมายในการทำตลาดเลย  ถ้าโรงพยาบาลไม่ได้รับความศรัทธา  และความเชื่อมั่นจากประชาชน


ยกตัวอย่างง่ายๆนะครับ  คลินิกบางคลินิกน่ะครับ  คงเคยเห็นภาพคลินิกที่มีผู้ป่วยมายืนรอตั้งแต่คลินิกยังไม่เปิด  ทั้งๆที่คลินิกเล็กนิดเดียว  กับโพลี่คลินิกขนาดใหญ่ที่ว่างโหรงเหรง  ตรงนี้ละครับที่ยืนยันได้ว่า “ความเชื่อมั่น” เป็นปัจจัยที่มีผลทางการตลาดมากกว่า “ขนาด” 

ซึ่งในอดีตมี trend ของแพทย์คือผู้ช่วยชีวิตคนไข้ ในสังคมอุปถ้มภ์อย่างไทยๆ  ต่อให้บริการไม่ดีขนาดไหนถ้าคนไข้ศรัทธาในตัวหมอ
ก็ยังไปรอรับบริการกันให้แน่นขนัดอยู่ดี นั่นกำลังจะกลายเป็นอดีตไปแล้วละครับ

แต่ทุกวันนี้เปลี่ยนไปมากแล้วครับ
ทุกโรงพยาบาล ต้องทำการตลาดให้คนไข้รับรู้ว่า มีแพทย์เฉพาะทาง และเครื่องมืออะไรอะไร


คนไข้ก็สามารถเลือกเข้ารับบริการที่ต้องการ  และตรงกับอาการได้เอง
แผนการตลาดส่วนใหญ่ ก็คงต้องพิจารณาจากองค์ประกอบรอบตัวทั้งหมด  ไม่ว่าจะเป็นจำนวนประชากร  ศักยภาพของ รพ.อื่นๆ  หรือ รพ.ของรัฐ  จำนวนผู้ให้บริการ  เศรษฐกิจ


แต่ที่สำคัญที่สุด  คงเป็นการวางแผนการตลาดบนพื้นฐานของความรู้จักศักยภาพของโรงพยาบาลเองให้มากที่สุด  เช่นมีความสามารถในการให้บริการมากน้อยขนาดไหน  ประเภทใดบ้าง  

ตัวอย่างง่ายๆคือ  ถ้าทีมการตลาดพยายามสร้างสรรกลยุทธ์การตลาดที่ยอดเยี่ยม  โดยลืมมองดูศักยภาพของโรงพยาบาลเองก่อน  แทนที่จะเกิดผลดี  กลับกลายเป็นผลเสีย 

เพราะถ้าคนไข้มารับบริการมากมายเกินกว่าที่จะสามารถให้บริการได้ดี  ความประทับใจของคนไข้ก็จะรู้สึกไม่ดี  แล้วนำไปตำหนิภายนอกโรงพยาบาล  ซึ่งส่งผลเสียมากกว่าผลดีต่อตัวโรงพยาบาลเอง  เพราะการตลาดที่สำคัญที่สุดของโรงพยาบาลคือ  การตลาดแบบปากต่อปาก  ซึ่งชื่อเสียงเป็นเรื่องสำคัญที่สุดครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น AE (signmaster_andmore-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-04-09 09:48:46 IP : 49.49.123.232


ความคิดเห็นที่ 6 (3288613)
avatar
AE

6.โรงพยาบาลรัฐ ถ้ามีแผนการตลาดที่ดี  จะทำให้คนเลือกใช้บริการมากขึ้นหรือไม่

คำถามนี้คงต้องเริ่มต้นที่ การปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์  แล้วละครับ  คงต้องมีมุมมองให้กว้างขึ้นอีกสักหน่อย


ผมกลับมองว่าควรทำการตลาดให้ ลดจำนวนผู้มารับบริการมากกว่า  โดยการทำแผนการตลาดส่งเสริมสุขภาพ  มากกว่าการตลาดโรงพยาบาล

ยกตัวอย่างเช่นนโยบาย อสม. หรือนโยบายสุขภาพที่ทำกันอยู่ ถูกต้องแล้ว  ให้คนมาใช้น้อย  บริการก็ดีขึ้น เร็วขึ้น  ถ้าตามหลักกการตลาดคือพัฒนา Product และfacility ให้มากขึ้นเรื่อยๆ

และต้องลดจำนวน input คือผู้รับบริการ  แต่ไปเพิ่มจำนวน output หรือประสิทธิภาพการให้บริการขึ้นมาแทน  ซึ่งถ้ามองกันดีๆ  นโยบายสุขภาพที่ภาครัฐทำอยู่  ก็ถือว่าตรงจุดพอสมควร  แต่การตลาดภาครัฐ ไม่ได้ตอบโจทย์เท่าไร มีผลดี แต่ก็น้อยมาก


เพราะคนไข้ ใช้บริการในเขตพื้นที่ๆตนเองขึ้นทะเบียนบ้าน หรือพูดง่ายๆว่าเลือกที่ใกล้บ้าน  โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลศูนย์
มีบุคลากร เท่าไร  เพียงพอไหม


โรงพยาบาลชุมชน ยิ่งไม่ต้องพูดถึง คุณหมอมีคนสองคนเอง  เครื่องมือแพทย์ก็มีน้อย  และไม่เพียงพอ


สุดท้านคนไข้ก็ต้องเดินทางเข้ามาแออัดกันที่โรงพยาบาลขนาดใหญ่
รพ.รัฐในจังหวัดใหญ่ๆ หรือโรงพยาบาลศูนย์ แม้จะต้องเดินทางไกลข้ามจังหวัด  เพื่อมารอรับบัตรคิวกันแต่เช้ามืด

คุณหมอ  พยาบาล  เจ้าหน้าที่วิชาชีพทุกฝ่าย  ของ รพ.ขนาดใหญ่ แทบไม่ได้ทานอาหารตรงเวลา  งานหนักมาก  จนการดูแลผู้ป่วยแต่ละรายมีเวลานิดเดียว  เร่งรีบไปหมด 

แล้วจะให้คนไข้เข้าไปใช้บริการเยอะๆทำไมละครับ
ตรงกันข้าม  การตลาด รพ.เอกชนต่างหาก  ที่ตอบโจทย์ได้ตรงประเด็น  คือการแบ่งผู้ป่วยที่มีศักยภาพทางการเงิน  สามารถชำระค่ารักษาพยาบาลด้วยตนเองได้  ไม่เป็นภาระกับงบประมาณของภาครัฐ  และช่วยแบ่งเบางานของบุคลากรภาครัฐ  ไม่ให้ล้นมือจนเกินไป


ผมถึงเห็นว่า  การทำการตลาด  ควรทำเพื่อลดจำนวนผู้มารับบริการ มากกว่าการเพิ่มจำนวนผู้มารับบริการ  โดยสร้างกลยุทธทางการตลาดเพื่อพัฒนาการดูแลสุขภาพ  ซึ่งเป็นต้นเหตุ  มากกว่าทำการตลาดเพื่อให้มารับการรักษาพยาบาล  จนต้องมาแออัดยัดเยียดกันจนล้นโรงพยาบาล หรือรอการใช้เครื่องมือแพทย์นานหลายชั่วโมง ที่เป็นปลายเหตุ อย่างในปัจจุบันครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น AE (signmaster_andmore-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-04-09 09:56:35 IP : 49.49.123.232


ความคิดเห็นที่ 7 (3288616)
avatar
AE

7.อาจารย์มองทิศทางการแข่นขันของธุรกิจโรงพยาบาลอย่างไรบ้าง ในอนาคต 


เข้มข้นขึ้นแน่นอนครับ  แต่ก็เป็นพันธมิตรซึ่งกันและกัน ตัวอย่างเช่นการร่วมมือกันทางด้านเทคโนโลยี  ด้านการแพทย์ 
แต่ก็ไม่ถึงกับมากมากแบบก้าวกระโดด เพราะปัจจัยหลักของโรงพยาบาล คือ คุณหมอ. และเทคโนโลยี ซึ่งต่างก็แข่งขันกันพัฒนาศักยภาพของตัวเอง อยู่แล้วครับ

การแข่งขันก็คงต้องแยกเป็นกลุ่มๆ  เพราะ รพ.ทุกวันนี้ทั้งรัฐและเอกชน  ซึ่งมี ranking และ sizing ที่แตกต่างกันอยู่ เช่น รพ.ศูนย์ กับ รพ.ชุมชน  ต่างก็มีบทบาทในทางการแพทย์ที่แตกต่างกัน  หรือ รพ.เอกชนขนาดใหญ่ในกรุงเทพ  กับ รพ.เอกชนเล็ๆกในต่างจังหวัด  ซึ่งก็ส่งต่อผู้ป่วยที่ต้องการดูแลอย่างเต็มที่  หรือมาใช้เครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัยกว่า  เข้ามารับบริการในกรุงเทพ  ก็คล้ายๆกับเป็นศูนย์แรกรับ และส่งต่อให้กัน เป็นการแข่งขันซึ่งผสมผสานความเป็นพันธมิตรทางธุรกิจครับ

ผมเชื่อว่าการตลาด เชิงการโฆษณาน่าจะลดลง แต่คงไปเพิ่มเรื่องการลงทุนทางด้านเทคโนโลยี และหาแพทย์แม่เหล็ก มาอยู่ด้วยเยอะๆ รวมถึงการสร้างสร้างแบรนด์ให้เป็นที่ชื่นชมในทุกด้าน  กิจกรรมด้าน CSR ก็น่าจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ


ในอดีตเคยมีการ trend สร้างกลยุทธทางการตลาด  ที่เรียกว่า Hospitel ซึ่งย่อมาจาก Hospital + hotel ก็คือพัฒนาเรื่องความหรูหรา  สะดวกสบาย  และคุณภาพการบริการอยู่พักหนึ่ง  แต่ว่าก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร  จนเกิดกระแส Medical Hub ซึ่งเป็นภาพกว้างมากกว่าโรงพยาบาลที่ดูหรูหรา  สะดวกสบาย  แต่เป็นการเน้นที่ภาพรวมของศักยภาพการบริการทางการแพทย์ที่แข็งแกร่งระดับทวีป ซึ่งน่าจะเห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้นเรื่อยๆในอนาคตครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น AE (signmaster_andmore-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-04-09 10:04:52 IP : 49.49.123.232


ความคิดเห็นที่ 8 (3288618)
avatar
AE

8. จะกลายเป็นว่าเราผลิตบุคลากรเพื่อรองรับการให้บริการชาวต่างชาติ  แต่บุคลากรในโรงพยาบาลรัฐกลับขาดแคลน  มองตรงนี้อย่างไร

บุคลากรวิชาชีพที่มาทำงานให้บริการชาวต่างชาติ  ก็มีครับ  แต่เมื่อเทียบสัดส่วนกับบุคลากรที่ยังทำงานในระบบให้บริการประชาชน  ถือว่าน้อยมาก 

ผมว่าความเข้าใจนี้ค่อนข้างผิด  จริงๆแล้วบุคลากรไม่ได้ขาดแคลนเพราะการไปให้บริการชาวต่างชาติ  แต่สัดส่วนระหว่างผู้รับบริการ กับผู้ให้บริการไม่สัมพันธ์กัน  ต่อให้ไม่มีบุคลากรมาให้บริการชาวต่างชาติเลย  สัดส่วนก็ยังไม่เพียงพออยู่ดี  ซึ่งต้องช่วยกันทั้งสองด้าน  คือผู้ให้บริการก็ต้องสร้างขึ้นอีกมากทั้งปริมาณและคุณภาพ  ในขณะที่ต้องสร้างความเข้าใจด้านการดูแลสุขภาพของประชาชนให้มากขึ้น  เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยลง  สัดส่วนก็จะลงตัวและเพียงพอไปเอง


และอีกมุมมองหนึ่ง  การที่มีบุคลากรทางการแพทย์  มาทำงานให้บริการชาวต่างชาติบ้าง  ก็ตอบสนองนโยบาย Medical  Hub ที่สามารถสร้างรายได้ให้ประเทศปีละหลายหมื่นล้านบาท

ซึ่งเม็ดเงินเหล่านี้  ส่วนหนึ่งก็กลับมาเป็นงบประมาณของภาครัฐ  ที่นำมาพัฒนาคุณภาพ และสร้างบุคลากรวิชาชีพให้กับสังคมไทยอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งถือว่ามีประโยชน์ทางตรงและอ้อมกับวงการสาธารณสุข  อีกส่วนหนึ่งนะครับ


การสร้างแพทย์พยาบาลหรือบุคลากรวิชาชีพ  มาบริการสังคมไทย  ใช้งบประมาณภาครัฐจำนวนมาก  รวมถึงการก้าวตามเทคโนโลยีทางการแพทย์  ก็ต้องใช้งบประมาณมากมายเช่นกัน   การมีสถานพยาบาลที่สามารถรองรับผู้ป่วยต่างชาติได้เป็นอย่างดี  ที่ได้รับความนิยมอย่างที่เมืองไทยมีทุกวันนี้  ก็สามารถสร้างรายได้มาร่วมพัฒนาวงการสาธารณสุข  เป็นวงจรที่สัมพันธ์และเอื้อประโยชน์ต่อกันได้เป็นอย่างดีครับ  ผมว่าเรื่องนี้มีประโยชน์กับวงการมากกว่ามีโทษเสียอีก

 

ผู้แสดงความคิดเห็น AE (signmaster_andmore-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-04-09 10:17:15 IP : 49.49.123.232


ความคิดเห็นที่ 9 (3288620)
avatar
AE

9. เข้าใจว่าการแข่งขันมีความจำเป็น ซึ่งเป็นสิ่งที่คนไทยต้องยอมรับ  แต่จะเป็นไปได้หรือไม่ หากจะทำให้สังคมไทยมีโรงพยาบาลคุณภาพ ที่ดีทั้งการรักษาและบริการ เพื่อรองรับประชาชนได้ทุกระดับ (ไม่ต้องรวย แต่ก็มีสิทธิ์)


สิทธิ์น่ะทุกคนมมีอยู่แล้วนะครับ คนไทยก็มีสิทธิ์บัตรทอง  เบิกจ่ายข้าราขการ  ต้นสังกัด ประกันสังคม  เงินสด  ประกันชีวิต  ซึ่งจริงๆแล้วก็รองรับได้  ขึ้นอยู่กับว่า  ใครจะมีสิทธิ์ตรงส่วนไหน  และเลือกใช้สิทธิ์อะไร

เกิดมาเป็นคนไทย  ปัจจุบันก็เข้าถึงสิทธิ์การรักษาพยาบาลอยู่แล้ว  และพอโตขึ้นทำงานได้ ก็มีสิทธิ์ที่จะเลือกใช้  ตังแต่เงินสด  หรือซื้อประกันชีวิต  ต่างกันไปตามสถานะ


ถ้าจะให้สังคมไทยมี รพ.คุณภาพ  ที่ดีทั้งการรักษาและบริการ  น่าจะเริ่มหันมาพัฒนาโรงพยาบาลขนาดเล็ก เช่นรพ.ชุมชน  ให้มีศักยภาพ และเครื่องมือแพทย์ให้เพียงพอ  เพื่อป้องกันการไหลทะลักเข้ามาใช้บริการใน รพ.ใหญ่ หรือโรงพยาบาลศูนย์

 
ทุกวันนี้ถ้ามองไปที่ต่างจังหวัด  เห็นได้ชัดว่าการเข้ารับบริการส่วนใหญ่ เน้นมาที่ รพ.ประจำจังหวัด  หรือเดินทางข้ามจังหวัดมาเข้ารับบริการที่ รพ.ศูนย์ขนาดใหญ่  เป็นสาเหตุที่ทำให้สัดส่วนของผู้ให้บริการ และเครื่องมือแพทย์ ไม่สัมพันธ์กับจำนวนผู้มารับบริการ  ทำให้ทุกกระบวนการต้องเร่งรีบ  จนเกิดความรู้สึกว่าการบริการไม่ดี  หรือต้องรอนาน


เน้นการทุ่มเททรัพยากรทางการแพทย์และงบประมาณ  ไปที่การพัฒนา รพ.ขนาดเล็กให้มีประสิทธิภาพเพียงพอกับประชากรในพื้นที่  เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง  รวมถึงการเร่งสร้างความเข้าใจด้านสุขภาพที่ดีแก่ประชาชน  เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยของประชาชนลง

ยกตัวอย่างง่ายๆก็คงจะเป็นสงกรานต์ที่จะมาถึงนี้  ถ้าสามารถลดจำนวนคนเจ็บจากอุบัติเหตุ  ซึ่งไปเพิ่มงานจำนวนมากให้แก่โรงพยาบาล  ทั้งที่ไม่จำเป็น  ถ้าทุกคนไม่ประมาท  คุณหมอและเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล  ก็จะมีเวลามากขึ้นในการดูแลผู้ป่วยคนอื่นๆ  แทนที่จะต้องทำงานหนักกับการช่วยชีวิตผู้ประสบอุบัติเหตุจากความประมาทจำนวนมาก โดยไม่จำเป็น

และถ้าประชาชนเข้าใจ  และใส่ใจในการดูแลสุขภาพ  ป้องกันสุขภาพของตัวเองให้ดีอยู่ตลอดเวลา  ก็จะลดจำนวนผู้เข้ารับบริการลงได้มาก  ซึ่งทำให้การบริการด้านสาธารณสุขมีเวลามากขึ้น  ดูแลได้ทั่วถึง  บริการได้ดีขึ้น แค่นี้ก็จะสามารถแก้ปัญหาการบริการที่แออัด  อย่างในปัจจุบันได้แน่นอนครับ


ส่วนเรื่องฐานะของผู้รับบริการ  ก็ชัดเจนในตัวเองอยู่แล้วว่า  บริการทุกชนิดก็มีราคาที่แตกต่างกัน  ขึ้นอยู่กับความสามารถในการเลือกซื้อของลูกค้า  ไม่ได้หมายความว่า  การบริการด้านสาธารณสุขในราคาถูกจะไม่ดีนะครับ  การบริการและเทคโนโลยีในปัจจุบันก็ถือว่ามีประสิทธิภาพดีเป็นที่น่าพอใจ  แต่ก้เป็นธรรมดาว่า  ค่าใช้จ่ายก็เป็นปัจจัยที่สำคัญ  ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับผู้รับบริการเองว่า  จะเลือกใช้บริการที่มีค่าใช้จ่ายระดับใด

ซึ่งถ้ามองถึงในแง่คุณภาพการบริการทางการแพทย์  ก็ถือว่าใกล้เคียงกัน  แต่ส่วนที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น  ส่วนใหญ่ไม่ได้จ่ายเพื่อซื้อบริการทางการแพทย์นะครับ  แต่จ่ายเพิ่มเพื่อซื้อความสะดวกสบาย และความรวดเร็วเสียมากกว่า

คงต้องยืนยันว่า  การบริการของโรงพยาบาล และความรู้ความสามารถของบุคลากรทางการแพทย์  รวมถึงเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบัน ทั้ง รพ.ของรัฐ และโรงพยาบาลเอกชน  มีคุณภาพและมาตรฐานที่ดีขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ซึ่งโรงพยาบาลเอกชนบางโรงพยาบาล  ก็อาจมีศักยภาพทางการแพทย์  หรือจำนวนคุณหมอและเครื่องมือ  น้อยกว่าโรงพยาบาลของรัฐเสียด้วยซ้ำ

ดังนั้นการเลือกใช้บริการจากโรงพยาบาลก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการชำระค่าบริการที่เหมาะสม  ไม่จำเป็นต้องรวยก็สามารถรับบริการที่มีคุณภาพได้เช่นเดียวกัน  อาจแตกต่างในแง่ความสะดวกสบายบ้างเท่านั้นครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น AE (signmaster_andmore-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-04-09 10:22:07 IP : 49.49.123.232


ความคิดเห็นที่ 10 (3288629)
avatar
เปริมี่ 1 (ภก จตุพร กิ่งโพธิ์)
อาจารย์สาธิต ตอบได้ดีมากๆ ครับ ชัดเจน เห็นภาพ ครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น เปริมี่ 1 (ภก จตุพร กิ่งโพธิ์) (prameprame-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-04-09 11:32:48 IP : 49.49.117.15


ความคิดเห็นที่ 11 (3410717)
avatar
PsrW9wCn1c
I read your post and wisehd I was good enough to write it
ผู้แสดงความคิดเห็น PsrW9wCn1c (cry3df75-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2014-02-24 23:29:44 IP : 188.143.232.12


ความคิดเห็นที่ 12 (3410763)
avatar
84jgkVWoC7s3
Real brain power on dilsyap. Thanks for that answer!
ผู้แสดงความคิดเห็น 84jgkVWoC7s3 (g2bzqgsoxj-at-mail-dot-com)วันที่ตอบ 2014-02-25 04:26:59 IP : 129.35.117.199


ความคิดเห็นที่ 13 (3412602)
avatar
Y3VAIXgL3lX
car Insurance Quotes in Georgia car insurance cheap quotes on car insurance car insurance qoutes
ผู้แสดงความคิดเห็น Y3VAIXgL3lX (xdvrgttxq-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2014-03-21 02:17:17 IP : 210.112.127.51


ความคิดเห็นที่ 14 (3412685)
avatar
T7X48NbiQQ
cipro online auto i9nsurance car insurance quotes drugstotreated.com
ผู้แสดงความคิดเห็น T7X48NbiQQ (7pjd25d5h9-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2014-03-21 12:50:47 IP : 41.63.166.57


ความคิดเห็นที่ 15 (3413080)
avatar
8mAifxSHia
treatinfectionsonline.com click here to get started free insurance car quotes mobile
ผู้แสดงความคิดเห็น 8mAifxSHia (o7ky2pc0-at-outlook-dot-com)วันที่ตอบ 2014-03-24 04:01:43 IP : 200.114.116.158


ความคิดเห็นที่ 16 (3413230)
avatar
0wg5p6yL46S
viagra online www.lowestquoteforinsurance.com buy viagra online no prescription car insurance quote
ผู้แสดงความคิดเห็น 0wg5p6yL46S (3sy6i3e26v-at-outlook-dot-com)วันที่ตอบ 2014-03-24 16:34:48 IP : 61.205.193.81


ความคิดเห็นที่ 17 (3413309)
avatar
VZDUQGVdeat
auto insurance quostes generic levitra online asthma inhalers health insurance affordable
ผู้แสดงความคิดเห็น VZDUQGVdeat (11xkdckiuey-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2014-03-25 05:20:55 IP : 156.17.194.36


ความคิดเห็นที่ 18 (3413692)
avatar
SXlQlxI27t
www.bestmedicinefored.com amoxicillin auto insurance british viagra
ผู้แสดงความคิดเห็น SXlQlxI27t (dd9yxlra-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2014-03-26 17:49:42 IP : 23.92.215.6


ความคิดเห็นที่ 19 (3413740)
avatar
T9pCcrWJQ
mn auto insurance buy viagra without prescription erections car very cheap insurance
ผู้แสดงความคิดเห็น T9pCcrWJQ (p3vlyqjyg-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2014-03-27 00:11:18 IP : 70.175.224.158


ความคิดเห็นที่ 20 (3414143)
avatar
LcT8tD4hvUG
discount best rusted tab orden viagra online where to buy levitra online www.cheapestcarinsur.com second hand car insurance
ผู้แสดงความคิดเห็น LcT8tD4hvUG (eta40w6xk-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2014-03-28 17:10:39 IP : 217.110.54.243


ความคิดเห็นที่ 21 (3414316)
avatar
aepbryV5
viagra te koop prednisone order no prescription cheapest auto insurance rates viagra levitra
ผู้แสดงความคิดเห็น aepbryV5 (445af98nbxh-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2014-03-29 16:21:49 IP : 182.74.126.163


ความคิดเห็นที่ 22 (3414396)
avatar
dDWsfK1bOPX
codes car insurance car insurance rate healthinsurance.com railroad protective liability insurance
ผู้แสดงความคิดเห็น dDWsfK1bOPX (0gjr4c0jhf-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2014-03-30 07:35:40 IP : 37.18.152.132


ความคิดเห็นที่ 23 (3414621)
avatar
5cXGa4CRPKK
zyrtec and cervical muscus car insurance quotes viagra buy levitra side
ผู้แสดงความคิดเห็น 5cXGa4CRPKK (qib1g8zxms-at-mail-dot-com)วันที่ตอบ 2014-03-31 14:43:25 IP : 200.102.9.146


ความคิดเห็นที่ 24 (3414755)
avatar
Dn2W73kXDlU
insurance quotes online for kentucky click here to get started zyrtec and metadate viagra order on line nosubscription
ผู้แสดงความคิดเห็น Dn2W73kXDlU (etkmjkyuio-at-outlook-dot-com)วันที่ตอบ 2014-04-01 11:36:58 IP : 128.206.8.53


ความคิดเห็นที่ 25 (3414858)
avatar
syqJmsMfn1
life insurance policys cialis wholesale e d pills online order cialis using a mastercard
ผู้แสดงความคิดเห็น syqJmsMfn1 (f0s29k8l3k-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2014-04-02 02:45:56 IP : 81.30.64.80


ความคิดเห็นที่ 26 (3414877)
avatar
1NLX08yc8h
find cialis non generic grade ordering levitra on line Pfizer Brand Viagra 1wwwcheapcarinsurancecom.com
ผู้แสดงความคิดเห็น 1NLX08yc8h (4u1l9me6e2-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2014-04-02 06:37:05 IP : 103.18.80.99


ความคิดเห็นที่ 27 (3415074)
avatar
KlGkSfewjvSw
purchase prednisone online cheapest vehicle insurance edmedicoprices.com cheap insurance automobile
ผู้แสดงความคิดเห็น KlGkSfewjvSw (o13gixat-at-mail-dot-com)วันที่ตอบ 2014-04-03 09:50:16 IP : 193.242.117.220


ความคิดเห็นที่ 28 (3415131)
avatar
FwJt2YfDmS
moile home insurance cheapest motor insurance quote nexium Auto Insurance qoutes
ผู้แสดงความคิดเห็น FwJt2YfDmS (c2giouupo-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2014-04-03 16:43:20 IP : 207.250.230.134


ความคิดเห็นที่ 29 (3415503)
avatar
d65SGYNSg
auto owner s insurance VIAGRA FOR SELL 1wwwviagracom.com law insurance car
ผู้แสดงความคิดเห็น d65SGYNSg (xe2bebtrgmh-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2014-04-05 17:03:12 IP : 194.105.50.17


ความคิดเห็นที่ 30 (3415551)
avatar
VQRw8bEoVUMb
best generic viagra health insurance for cheap click here to get started massachusetts auto insurance premiums
ผู้แสดงความคิดเห็น VQRw8bEoVUMb (53twylxq-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2014-04-06 01:40:53 IP : 162.218.88.233


ความคิดเห็นที่ 31 (3415650)
avatar
vP43gmhGCn
life insurance for life click here to get started link 1wwwcarinsurancequotescom.com
ผู้แสดงความคิดเห็น vP43gmhGCn (nypnmmftzl-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2014-04-06 14:58:43 IP : 208.94.39.214


ความคิดเห็นที่ 32 (3416084)
avatar
bCJ8NjwpR
texas insurance car buying viagra on line viagracomparisons.com generic levitra online
ผู้แสดงความคิดเห็น bCJ8NjwpR (qnq4f1zw0c-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2014-04-09 21:12:56 IP : 88.73.204.74


ความคิดเห็นที่ 33 (3416131)
avatar
SWJUSR2tmeCs
doxycycline online purchase of cialis viagra online without prescription overnight wwwlevitracom.net
ผู้แสดงความคิดเห็น SWJUSR2tmeCs (6gozj6udkf-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2014-04-10 06:38:59 IP : 154.50.192.26


ความคิดเห็นที่ 34 (3416233)
avatar
kYHuVocEO8q
car insurance good driver accutane compare car insurance buymedsonline.net
ผู้แสดงความคิดเห็น kYHuVocEO8q (44vm8naj0u0-at-outlook-dot-com)วันที่ตอบ 2014-04-11 01:03:21 IP : 192.69.133.40


ความคิดเห็นที่ 35 (3416270)
avatar
Z2cQNb2FL0oL
cialis buy online car insurance quotes home insurance quotes car insurance rates
ผู้แสดงความคิดเห็น Z2cQNb2FL0oL (0aosn9zzzd-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2014-04-11 09:34:52 IP : 46.130.251.34


ความคิดเห็นที่ 36 (3416420)
avatar
bN6Isryzpui
generic viagra cheapest car insurance company in nj auto insurance cheap click here
ผู้แสดงความคิดเห็น bN6Isryzpui (ofaq1n40-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2014-04-12 00:15:18 IP : 213.125.163.138


ความคิดเห็นที่ 37 (3416600)
avatar
3qJ5krzkZnbi
order propecia online buy brand name levitra public liability insurance builders sildenafil
ผู้แสดงความคิดเห็น 3qJ5krzkZnbi (fwvcoam0g-at-outlook-dot-com)วันที่ตอบ 2014-04-13 14:25:59 IP : 216.183.95.241


ความคิดเห็นที่ 38 (3416723)
avatar
Kfs3OKa18
wwwpropeciacom.com online poker auto insurance quotes online buycialisonlinecheap
ผู้แสดงความคิดเห็น Kfs3OKa18 (gq2hophl-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2014-04-14 20:05:27 IP : 132.177.161.189


ความคิดเห็นที่ 39 (3416839)
avatar
foaCytD0
essay writing service Where can i buy cialis cheap cheap custom written papers custom essay writing
ผู้แสดงความคิดเห็น foaCytD0 (vuij0kb9-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2014-04-15 20:12:24 IP : 218.244.235.169



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2011 All Rights Reserved.